วันพฤหัสบดีที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2556

งานวิจัย

สรุปงานวิจัย


ชื่องานวิจัย : ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์ด้วยกิจกรรมเกมการศึกษาประกอบการประเมินสภาพจริง

ผู้วิจัย : วัลนา ธรจักร

ความสำคัญของการวิจัย : ผลการวิจัยครั้งนี้เป็นแนวทางสำหรับครู และผู้เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาปฐมวัยได้ตระหนักถึงความสำคัญของทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์ด้วยกิจกรรมเกมการศึกษาประกอบการประเมินสภาพจริง และเพื่อได้ใช้เป็นแนวทางในการพัฒนากิจกรรมการประเมินสภาพจริงที่ควบคู่ไปกับการเรียนการสอนให้เหมาะสมและเกิดประโยขน์สูงสุดในการพัฒนาเด็กปฐมวัยต่อไป

กลุ่มตัวอย่าง : นักเรียนชาย-หญิง อายุ 4-5 ปี ชั้นอนุบาลปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2544 โรงเรียนบ้านระมาดค้อ สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดสุรินทร์ จำนวน 15 คน

สรุปผลการวิจัย : เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์ด้วยกิจกรรมเกมการศึกษาประกอบการประเมินสภาพจริงมีทักษะทางคณิตศาสตร์โดยเฉลี่ยรวมในแต่ละสัปดาห์เพิ่มขึ้นจากก่อนการจัดกิจกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากการจัดประสบการณ์ด้วยกิจกรรมเกมการศึกษาประกอบการประเมินสภาพจริงมีทักษะทางคณิตศาสตร์ในแต่ละครั้งครูมีบทบาทในการสังเกต การตอบคำถาม การพบปะพูดคุย การจดบันทึกเหตุการณ์ เก็บข้อมูลอย่างต่อเนื่อง และนำข้อมูลที่ได้มาปรับปรุงบทบาทของครูและเด็ก และปรับกิจกรรมให้มีความเหมาะสม 

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 16

วันอังคารที่ 19 กุมพาพันธ์ พ.ศ. 2556

เนื้อหาที่ได้เรียน/ความรู้ที่ได้รับ
 -วันนี้อาจารย์พูดถึงเรื่องที่พวกเราจะไปดูงานที่หนองคายและประเทสลาว โดยอาจารย์ได้มีการลงชื่อนักศึกษาที่จะไปดูงาน
-อาจารย์นัดสอบในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2556 เวลา 13.00 น.
-อาจารย์แจกกกระดาษ และให้หัวข้อว่า เรียนวิชานี้ ได้ความรู้อะไร ได้ทักษะอะไร และเขียนถึงวิธีสอน

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 15

วันอังคารที่ 12 กุมพาพันธ์ พ.ศ. 2556

*ดูสาธิตการสอน เรื่องอวัยวะ(ร่างกาย)

วันที่ 1
-เด็กรู้จักอวัยวะอะไรบ้างค่ะ < อวัยวะภายนอกของเด็ก ๆ มีอะไรบ้างค่ะ < ครูให้เด็กยกมือตอบ < ครูติดภาพบนกระดาน < ถามเด็กว่าอวัยวะมีกี่ภาพ < ให้เด็กช่วยกันนับ 

วันที่ 2
-ทบทวนความรู้เดิมจากเมื่อวานนี้ < มีรูปภาพอวัยวะมาให้เด็กสังเกตุแล้วเริ่มเขียน Map < ให้เด็ก ๆ ลองสัมผัสใบหูของเพื่อนข้างๆ แล้วถามว่ามีมีพื้นผิวอย่างไร< ให้เด็กสังเกตุใบหู พร้อมทั้งคุรครูบอกว่า ใบหูของทุกคนมีสีผิวไม่เหมือนกันเพราะขึ้นอยู่กับสีผิว

วันที่ 3 
-ครูนำรุปอวัยวะต่าง ๆ มาให้เด็กดู < อะไรที่หูกับจมูกเหมือนกัน ทบทวนความรู้เดิมจากเมื่อวานที่เด็กได้รู้จักใบหู < ครูนำรูปตามาติดพร้อมทั้งถามเด็กว่า ตา ทำอะไรได้บ้างค่ะ พร้อมเขียน Map < สรุปอวัยวะของเราที่มีหน้าที่แตกต่างกัน

วันที่ 4
-เด็กค่ะเมื่อวานเรียนเรื่องอะไรไปบ้างค่ะ < มีอวัยวะอะไรบ้าง < ครูมีนิทานมาเล่าให้เด็กฟัง < ถามเนื้อเรื่องนิทานมีประโยชน์อะไรบ้างค่ะ < ครูสรุปหน้าที่กับประโยชน์ใกล้เคียงกัน สุดท้ายอาจสรุปเป็น Map นำเสนอ

วันที่ 5

-ทบทวนความรู้เดิมจากเมื่อวานนี้ < วิธีดูแลรักษาอวัยวะของร่างกายเรา < ครูใช้คำถาม ถามเด็กว่า ถ้ามือเปลื่อนฝุ่นเรานำมือไปขยี้ตาได้หรือไม่ค่ะ <  ไม่ได้แล้วเราต้องทำอย่างไรค่ะ < เด็ก ๆ ไม่ควรดู TV ใกล้เพราะจะทำให้สายตาสั้น < ครูและเด็กสรุปผลร่วมกัน






บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 14

วันอังคารที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556


เนื้อหาที่ได้เรียน / ความรู้ที่ได้รับ 

*ดูสาธิตการสอนของเพื่อน เรื่องกระดุม

วันที่ 1
-หยิบกระดุมขึ้นมาแล้วถามเด็ก<ให้เด็กสำรวจร่างกายตัวเอง<ถามเด็กว่าทรายมั้ยว่ามีกระดุมกี่ชนิด<ให้เด็กเปรียบเทียบกระดุมโลหะกับกระดุมอโลหะ
-ควรมีนิทาน เพลง หรือ คำคล้องจองที่เกี่ยวกับเรื่องเนื้อหาที่สอน
-เวลาเด็กบอกชนิดกระดุมที่เด็กรู้จัก ครูควรจดเป็น My Map
-นำกระดุมใส่ถุงซิปแล้วนำมาให้เด็กได้ดูความหลากหลายของชนิดของกระดุม

วันที่ 2
-ทบทวนความรู้เดิมจากเมื่อวานนี้
-นำกระดุมมาให้เด็กดูแล้วถามเด็กว่ากระดุมมีรูปทรงอะไร
-เขียนตารางความสัมพันธ์ของกระดุมแต่ละชนิด

วันที่ 3
-ถามคำถามเด็กว่ากระดุมใช้ทำอะไรได้บ้าง
-ถามเด็กว่ากระดุมที่ครูถืออยู่เป็นรูปอะไร
-นำกระดุมแต่ละชนิดมาติดให้เด็กดู แต่งนิทานเรื่องประโยชน์ของกระดุม

วันที่ 4
-ให้เด็กนำกระดุมที่เด็กชอบ และนำมาใส่กล่อง
-ครูสรุปผลร่วมกันกับเด็ก
-มีการใช้คำถามว่า < เราจะไปซื้อกระดุมได้ที่ไหน < ถ้าเด็ก ๆ มีกระดุม เด็ก ๆ จะเก็บกระดุมไว้ที่ไหน < เด็ก ๆคิดว่ากระดุมทำให้เกิดอาชีพอะไรบ้างค่ะ


งานที่ได้รับมอบหมาย
- My maping มาตรฐานคณิตศาสตร์ลงบล็อค

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 13

วันอังคารที่ 29 มกราคม พ.ศ.2556

-วันนี้อาจารย์นัดประชุมทั้ง 2 ห้อง เพื่อมาคุยงานการแสดงศึกษาศาสตร์ทาเลนต์ โดยสรุปผลได้ดังนี้
มีการแสลง รำ ร้องเพลง โฆษณา การแสดงลิบซิ้ง เต้นประกอบเพลง ละครใบ้ ตลก ผู้กำกับหน้าม้า
- โดยมี สว่างจิตร (รำ), รัตติยา (ร้องเพลง), โฆษณา (นิศาชล,ละมัย) , พิธีกร (ซาร่า,ลูกหยี) , ลิบซิ้งเพลง (จุฑามาศ, นีรชา) , เต้นประกอบเพลง (พลอยปภัส,เกตุวดี,มาลินี) , ละครใบ้ (อัจฉรา,จันทร์สุดา) , ผู้กำกับหน้าม้า (พวงทอง,นฎา)ตลก(ปราณิตา,ดาราวรรณ,ณัฐชา,ชวนชม)

- เรานำเรื่องที่ประชุมกันในวันนี้มาประยุกต์ใช้กับการเรียนการสอนเกี่ยวกับ การสอนผ่านโครงการ หรือ โปรเจค ได้

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 12

วันอังคารที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2556

เนื้อหาที่ได้เรียน/ความรู้ที่ได้รับ

* ดูสาธิตการสอนของเพื่อน  เรื่องขนมไทย ต่อ จากสัปดาห์ที่แล้ว

วันที่ 1 ชื่อขนมไทย
-เด็กรู้จักขนมอะไรบ้างค่ะ < ลองดูจากภาพสิค่ะ< พร้อมนำตัวเลขไปติดกำกับ

วันที่ 2 ลักษณะรูปร่างของขนมไทย
- นับจำนวนขนมทั้งหมด < แยกออก < เรียงขนมจากซ้ายไปขวา < นับใหม่ <.ใส่ตัวเลขกำกับ< ถามเด็กว่าอยากชิมขนมกันมั้ยค่ะ< ครูแบ่งครึ่งขนม < ครูวางเรียงขนมชั้น เม็ดขนุน สลับกัน < ให้เด็ก ๆ ออกมาเรียงตามแบบ

*ดูสาธิตการสอนของเพื่อน  เรื่องข้าว

วันที่ 2 ลักษณะของข้าว
- เด็ก ๆ รู้จักข้าวอะไรบ้างค่ะ < รู้จักส่วนประกอบ<ใส่ข้าวสารในภาชนะต่างกัน<เทข้าวสารใส่ภาชนะที่เท่ากันเพื่อพิสูจ< เทข้าวสารใส่ภาชนะเช่นเดิม (การอนุรักษณ์)

วันที่ 4 การเก็บรักษา
- เด็ก ๆ เคยเห็นข้าวเก็บไว้ที่ไหนค่ะ < ทำไมต้องเก็บข้าว<ครูเอารูปที่เก็บข้าวต่าง ๆ มาให้เด็กดู

*ดูสาธิตการสอนของเพื่อน  เรื่องกล้วย

วันที่ 1 ชื่อของกล้วยชนิดต่าง ๆ
-เด็ก ๆ รู้จักกล้วยอะไรบ้างค่ะ < เด็ก ๆ ทราบหรือไม่ว่าในตระกล้ามีกล้วยอะไรบ้าง < ไหนลองบอกครูสิค่ะว่ามีกล้วยอะไรบ้าง < เห็นมั้ยค่ะว่ามีกล้วยอะไรบ้าง < ให้เด็ก ๆ หยิบกล้วยมาเรียงแล้วนับ,หยิบภาพเรียงลำดับ < กล้วยทั้งหมด 9 หวี  กล้วยหอม 4 หวี กล้วยน้ำละว้า 3 หวี กล้วยไข่ 2 หวี

วันที่ 2 ลักษณะของกล้วย
- ถามคำถามเพื่อทบทวนความรู้เด็กเมื่อวานนี้ว่า เด็กรู้จักกล้วยอะไรบ้างค่ะ < ครูหยิบกล้วยออกมา 1 หวี ใช้ตัวเลขกำกับ < นำจานออกออกมาให้เด็กๆดูและถามเด็กว่าข้างในจานมีอะไรไหนเด็ก ๆ ลองทายดูสิค่ะ < เปิดโอกาศให้เด็กได้สัมผัสกล้วย < ให้เด็กชิมรสกล้วย< ครูแบ่งครึ่งกล้วยออกครึ่งเรียกเด็ก 2 คน ออกมา ถ้าไม่พอ แบ่งออกเป็น 4 ถ้าไม่พอแบ่งออกมาเป็น 8 กล้วย 1 ผลเด็กชิมได้ 8 คน < สรุปตอนท้ายด้วย My map

วันที่ 3 ข้อควรระวัง
-สร้างเรื่อง พ่อไปตัดกล้วย ใช้สอนเรื่องตำแหน่ง ทิสทาง

วันที 4 การขยายพันธ์
-แบ่งกลุ่มใช้กระดาษตัดเป็นรูปมือ<แต่ละแปลงห่างกัน 1 ฝ่ามือ <ปลูกเว้นละยะเพื่อที่จะขยายพันธ์ <แปลงใครขายพันธ์ต้นกล้วยได้มากที่สุด


งานที่ได้รับมอบหมาย
- ให้นักศึกษาทุกคนไปอ่านงานวิจัยคนละ 1 เรื่องพร้อมสรุปลงบล็อกเกอร์

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 11

วันอังคารที่ 15 มกราคม พ.ศ. 25556

-วันนี้อาจารย์แนะนำวิธีการสอนหน้าชั้นเรียนว่าควรพูดควรสอนเด็กอย่างไร

หมายเหตุ * อาจารย์ขอออกก่อนเวลา เนื่องจากติดประชุมด่วน

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 10

วันอังคารที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2556

- อาจารย์ได้ให้นักศึกษาส่งงานประดิษฐ์ดอกไม้ 

มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดทางคณิตศาสตร์

มาตราฐานที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ >การเข้าใจถึงความหลากหลายของจำนวนและนำจำนวนไปใช้ในชีวิตจริง
-จำนวน > การนับ ค่า ตัวเลข
-การดำเนินการ > วิธีการดำเนินการหรือขั้นตอนต่างๆ

มาตราฐานที่ 2 การวัด > ค่า ปริมาณ น้ำหนัก พื้นที่

มาตราฐานที่ 3 เรขาคณิต
-รูปทรงเรขาคณิต > ทรงกรวย ทรงกระบอก สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม
-ตำแหน่ง > ซ้าย ขวา หน้า หลัง
-ทิศทาง > เหนือ ใต้ ออก ตก
-ระยะทาง > ตัวเลข หน่วย เครื่องมือ

มาตราฐานที่ 4 พีชคณิต > เข้าใจแบบรูปและความสัมพันธ์
-แบบรูป > การเขียนตัวอักษร การเขียนตัวเลข การประกอบรถของเล่น
-ความสัมพันธ์ > ตารางสัมพันธ์ 2 แกน เป็นการเตรียมให้เด็กเรียนรู้เรื่องกราฟ

มาตราฐานที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น > รวบรวมข้อมูลและนำเสนอ
-รวบรวมข้อมูล > สถิติ

มาตราฐานที่ 6 ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ > นำทุกอย่างมาประยุกต์ใช้




สสวท. มี 6 มาตรฐาน


1. จำนวนและการดำเนินการ


2. การวัด - เครื่องมือ/อุปกรณ์


             - ค่า / ปริมาณ  เช่น การวัดอุณหภูมิ การวัดน้ำหนัก การวัดพื้นที่  เป็นต้น

3.เรขาคณิต  - สามเหลี่ยม  สี่เหลี่ยม  วงกลม ทรงสามเหลี่ยม ทรงกระบอก

                  - การบอกตำแหน่ง เช่น ซ้าย ขวา หน้า หลัง เป็นต้น

                  - การบอกทิศทาง เช่น  ทิศเหนือ ทิศใต้ ทิศตะวันออก  ทิศตะวันตก

                  - ระยะทาง  เช่น  ค่า,ใช้เครื่องมือวัด,หน่วย

4.พีชคณิต เข้าใจแบบรูปและความสัมพันธ์ (เกมการศึกษาและความสัมพันธ์ 2 แกน) เป็นการสอนเรื่องกราฟให้กับเด็ก

5.การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น (การรวบรวมและนำเสนอข้อมูล)


6. ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์

งานที่ได้รับมอบหมาย

-ให้นักศึกษาทุกคนสอบสอนตามแผนของแต่ละคนในสัปดาห์หน้า

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 9

วันอังคารที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2556

- ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากเป็นวันหยุดปีใหม่ปี พ.ศ.2556


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 8

วันอังคารที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2555

-วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากเป็นวันสอบกลางภาค

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 7

วันอังคารที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2555

-ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากอาจารย์ติดธุระ แต่จะชดเชยในภายหลัง

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 6

วันอังคารที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2555

- วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษา ส่งแผนของหน่วยที่กลุ่มตัวเองสอน [หน่วยเรื่องข้าว]
-อาจารย์ให้แบ่งกลุ่มแล้วนำกล่องที่เตรียมมาต่อกันให้เป็นอะไรก็ได้ตามต้องการ
แบบที่ 1 ให้แต่ละคนนำกล่องมาวางเรียงต่อกันทีละคน โดยห้ามคุยกัน ต่างคนต่างวาง แล้วถามทีละคน ว่ากำลังจะต่ออะไร อยากให้เป็นอะไร

แบบที่ 2 พูดคุยปรึกษากันเพื่อวางแผนในการสร้างผลงานจากกล่อง

แบบที่่ 3 แต่ละกลุ่มนำผลงานมาจัดเป็นนิทรรศการ โดยบรูณาการเข้ากับคณิตศาสตร์ในเรื่องของตำแหน่ง ทิศทาง ประเภท การจัดลำดับ การนับ


งานที่ได้รับมอบหมาย

ใหนักศึกษาประดิษฐ์สื่อคณิตศาสตร์จากแกนกระดาษทิชชูคนละ 3 ชิ้น







บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 5

วันอังคารที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2555


กิจกรรมในห้องเรียน

- อาจารย์ดูงานที่สั่งเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว


- อาจารย์ให้ส่งตัวแทนออกไปเล่าความเรียงหน้าชั้น


- อาจารย์สั่งงานให้สอนเดี่ยว โดยในสมาชิกในกลุ่มตกลงเลือกสอนคนละ 1 วัน แต่คนสอน 20 นาที


ความรู้ที่ได้รับ 


- การจับคู่ภาพถือว่าเป็นคณิตศาสตร์  เนื่องจากจับเป็นคู่มี 2 เป็นการนับ  แต่อาจจะใช้การจับคู่กับตัวเลข  ถ้าต้องการให้ได้คณิตศาสตร์  100 %


- การวาดภาพ คือ การถ่ายทอดประสบการณ์


- ในการวาดภาพควรให้เด็กใช้สีมากกว่าดินสอ เพราะการใช้ดินสอทำให้เด็กมีโอกาสในการลบทำให้เด็กขาดความมั่นใจในตัวเองและไม่รู้จักการแก้ไขปัญหา


- ถ้าจะให้เด็กรับรู้เนื้อหาที่ต้องการจะสอนต้องผ่านนิทาน


- ประสบการณ์ด้านอารมณ์ของเด็ก คือ การแสดงออกทางความรู้สึกและการรับรู้ความรู้สึกของผู้อื่น


- ประสบการณ์ด้านร่างกายของเด็ก คือ น้ำหนัก-ส่วนสูง , การเคลื่อนไหว


- ประสบการณ์ด้านสังคมของเด็ก  คือ การอยู่ร่วมกัน , การทำงานร่วมกับผู้ือื่น และคุณธรรมจริยธรรม


- ประสบการณ์ด้านสติปัญญาของเด็ก คือ การคิด ภาษา